ในเรื่องของการปิ้ง ย่าง ต้ม และยังปลอดภัยจากรังสีตกค้าง เพราะใช้พลังงานธรรมชาติ 100 % คุณลุงอรรถพล ศิริปุณย์ สมาชิกบอร์ด รักบ้านเกิด เป็นผู้นำความรู้นี้มาเผยแพร่ ซึ่งได้รับความสนใจจนต้องนำมาเผยแพร่และบอกต่อถึงขั้นตอนและวิธีการทำเตาพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ทำตามได้ง่ายและมีต้นทุนที่แสนต่ำ

1. กล่องโฟมหรือลังโฟม ขนาด กว้าง45 ซม. ยาว 60 ซม. สูง 30 ซม. (พร้อมฝาหรือลังโฟมขนาดใหญ่กว่านี้ก็ได้) สามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไป หากเป็นขนาดดังกล่าวจะราคาใบละไม่เกิน 65 บาท เลือกเอาชนิดเนื้อแน่นๆ
2. แผ่นพลาสติกหรือกระจกที่มีความหนาประมาณ 2-3 มม. ขนาดกว้างกว่ากล่องโฟมเล็กน้อย (1 แผ่นราคาไม่เกิน 200 บาท)
3. แผ่นสะท้อนความร้อนชนิดที่มีฟองน้ำด้านหลัง 1 ม้วน ราคาไม่เกิน 150 บาท (1 ม้วนสามารถทำได้ทำได้ 2 เตา)
4. ปี๊บน้ำมันพืช 1 ลูก ราคา 10 บาท
5. สีสเปรย์ชนิดสีดำด้าน จำนวน 1 กระป๋อง ราคาประมาณ 40 บาท /กระป๋อง
6. กระดาษทราย 1 แผ่น
7. กาวแป้งเปียก
8. แปรงสีฟันเก่า

1. ล้างทำความสะอาดกล่องโฟมแล้วผึ่งให้แห้ง
2. นำแผ่นสะท้อนความร้อน (ที่ใช้ติดกระโปรงรถยนต์) ชนิดที่มีฟองด้านหลังมาตัด ให้ได้ขนาดตามของกล่องโฟม(กว้าง * ยาว * ฐาน) รวมทั้งหมด เป็น 5 แผ่น ( 5 ด้าน)
3. เมื่อกล่องโฟมแห้งสนิทดีแล้วให้นำแผ่นสะท้อนความร้อน มาทากาวแป้งเปียกตามขอบทั้งสี่ด้าน แล้วแปะด้านในกล่องให้ครบทั้ง 5 ด้าน ตามจำนวนแผ่นที่ตัด
4. หลังเตรียมกล่องโฟม ด้วยการติดแผ่นสะท้อนความร้อนด้านในเสร็จจนครบทุกด้านแล้ว ให้จัดหาตำแหน่งวางกล่องโฟม โดยการวางกล่องโฟมบนโต๊ะยกพื้น ในตำแหน่งที่ได้รับความร้อนจากแสงแดดได้ตลอดทั้งวัน การสวางกล่องโฟม ควรวางกล่อง(แนวยาว) ตามแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก เพื่อจะได้รับแสงแดดได้สม่ำเสมอ ตลอดทั้งวัน และต้องตั้งกล่องให้มีความเอียง ประมาณ15 องศาโดยยกขอบด้านเหนือขึ้น ด้วยการตัดฝากล่องโฟมหนุนตัวกล่องขึ้น เพื่อให้รับแสงได้เต็มที่

6. เมื่อปี๊บแห้งแล้วให้นำกระดาษทรายมาขัดผิวปี๊บด้านนอก-ด้านใน ทั้ง 2 ซีก ให้เกิดความหยาบ เพื่อให้สีสเปรย์ยึดเกาะพื้นที่ผิวได้ง่าย(ถ้าไม่ขัดสีอาจติดไม่แน่น)
7. นำสีสเปรย์สีดำด้าน มาพ่นลงบนผิวปี๊บทั้งด้านนอกและด้านในให้ทั่ว โดยเว้นพื้นผิวด้านนอกที่เป็นฐานไม่ต้องฉีด พักทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วพ่นซ้ำอีกครั้งหนึ่ง
8. หาเศษวัสดุ เช่น ท่อนไม้ แต่ไม่แนะนำให้ใช้อิฐเพราะอิฐจะดูดความร้อนไว้มากเกินไปทำให้สูญเสียความร้อนได้ง่ายและต้องไม่ใช้วัสดุที่ไม่ทนความร้อนมาหนุน เพราะจะละลาย)มาหนุน รองปี๊บทั้งสองซีกด้านในกล่อง โดยจัดวางให้มีความเอียงไปตามกล่องโฟม(ตามรูป)
9. จัดวางสังกะสีทั้ง 2 ซีก ลงในกล่องโฟม (เป็นถาด 2 ใบ)
10. ปิดฝาด้วยแผ่นกระจกหรือแผ่นพลาสติกใส แล้วใช้งานเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์ได้ตามอัธยาศัย)
คำแนะนำจากลุงอรรถ ในการใช้งานเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์
1. ปี๊บสังกะสี(โลหะ) ที่ตัดครึ่งพ่นสีดำคือหัวใจของเตาอบนี้ เพราะเมื่อแสงแดดมากระทบสีดำจะเกิดความร้อน ความร้อนจะถูกดึงเก็บไว้ด้วยโลหะ(ปี๊บ) ยิ่งตากนานจะยิ่งร้อนมาก
2. ความร้อนที่เกิดขึ้นเป็นพลังงานจากแสงอาทิตย์ ที่หนีออกจากกล่องโฟมได้น้อย เพราะมีแผ่นสะท้อนความร้อนและลังโฟมป้องกันหรือกักกันไว้
3. พื้นลังโฟมด้านต่ำ(ทิศใต้) ควรมีแท่งไม้หรือกระดาษแข็งรองปี๊บดำ ให้ได้แนวระดับ **เมื่อเวลาตั้งหม้อข้าวน้ำจะได้ไม่หก
4. พลังงานความร้อนจะวิ่งออกทางกระจกได้ยากดังนั้น ถ้าแดดดีอุณหภูมิในเตาอบนี้จะสูงกว่า 100 องศา ซีซี(เกินจุดเดือดของน้ำ)
5. ไข่ที่สุกในตู้อบนี้ไข่ขาวจะไม่แข็ง แข็งแต่ไข่แดง(เหมือนไข่เต่า) อบไข่ไก่ใส่เช้าเที่ยงๆ ก็ได้กินแล้ว ไม่ว่าจะทิ้งไข่ไว้ในเตาอบสัก 2 – 3วัน ไข่ก็จะไม่ไหม้

“วันนี้มีฝนตกแดดไม่แรง (ที่ประทุมไม่ค่อยมีแดด) เมื่อเช้าทำไก่อบ ใส่ในเตาอบแลงอาทิตย์ใว้ครึ่งตัว น่ากลัวไม่สุก เอาออกไปใส่ตู้เย็นแล้ว เอาหมูแดดเดียที่สุกง่ายกว่าใส่แทนไก่ตามในรูป 2 ชั่วโมงผ่านมา ปรากฏว่า หมูอบบางชิ้นหายไปเข้าท้องใครก็ไม่รู้”เนื้อหมูถูกความร้อนสูงในเตาอบ จะเห็นน้ำมันหยดลงที่ปีบ ปิ้งดี อบดี กินอร่อย ไม่ไหม้ ไม่ก่อสารพิษ แบบการปิ้งย่างชนิดอื่น
6. ส่วนการใช้เตาอบหุงข้าว ก็ให้เติมน้ำแบบหุงหม้อข้าวไฟฟ้า แล้วเอาไปตั้งในปี๊บสีดำ (ปี๊บใส่ไว้ทั้งคู่ไม่ต้องเอาออก) ถ้าหม้อใหญ่ตั้งในเตาตอนเช้าอาจได้กินบ่าย 2 โมง ที่ดีคือไม่ต้องกลัวข้าวไหม้เหมือนใช้เตาแก๊ส ** ที่สำคัญคือ หม้อที่จะใช้หุงข้าวหรือต้มซุบหรือต้มน้ำนั้น ด้านนอกของหม้อและฝาหม้อต้องพ่นสีดำด้านให้ทั่ว
7. หากแสงแดดน้อยหรืออยากจะให้ร้อนเร็วๆ ขึ้นมากเกือบเท่าตัว ก็ให้ตั้งแผ่นโลหะมันวาวหรือกระจกเงาแผ่นโตๆไว้ที่ด้านทิศเหนือของตู้อบ เพื่อให้สะท้อนแสงแดดลงในตู้อบ (เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพเตาอบให้ดียิ่งขึ้น )
8. เตาอบชนิดนี้ให้พลังงานความร้อนที่สูงมาก(ตามสภาพแดด) จึงไม่เหมาะต่อการนำไปอบ ผลผลิตทางการเกษตรบางชนิด เช่น พริก สมุนไพรต่างๆ เพราะจะเกิดการไหม้ได้ หากต้องการใช้จริงๆ คงต้องมีการดัดแปลงรูปแบบเพิ่มเติมกันด้วยตัวเองต่อไป
9. ถามว่า ต้องเจาะรูให้ไอน้ำออกหรือไม่ ตอบ ไอน้ำจะลอดใต้กระจกออกไปเอง ไม่ต้องเจาะรูให้ไอน้ำออก
10. หากใช้อบหมูหมักซีอิ๊วให้ตั้งบนตะแกรงหรือกระเบื้อง(ยิ่งสีดำหรือสีทึบแสงยิ่งดี)

12. แผ่นสะท้อนความร้อนที่ใช้ติดใต้กระโปรงรถยนต์นั้น มีขายที่ร้านขายอะไหล่รถยนต์ แผ่นกว้าง 90 ซม.ยาว 140 ซม. ราคากรุงเทพ 150 บาท/แผ่น แผ่นหนึ่งทำได้ 2 เตา
13. ส่วนกระจกใสนั้นราคาขึ้นอยู่กับความหนา เขาจะเอากระจกขนาดใหญ่ 2 ฟุต X 3 ฟุต มาตัดแบ่งครึ่งให้เรา เป็น 2 ฟุต X 1.5ฟุต 2แผ่น ขอบกระจกโดยรอบให้ใช้อลูมิเนียมรูปตัวU ขนาด 3 หุน หุ้มไว้ให้รอบกันแตก และกันบาดมือ อลูมิเนียมตัวยู นี้มีขายตามร้านทำอลูมิเนียมหรือร้านกระจก
14. ที่แพงก็มีแผ่นสะท้อนความร้อนและกระจกใส สองตัวนี้เลยอยากให้ทำครั้งละ 2 ตู้จะประหยัดกว่า ได้ผลแน่นอนไม่ว่าจะใช้หุงข้าว ปิ้ง ต้ม อบ ต้มน้ำชงกาแฟก็ได้
15. การติดตั้งแผ่นสะท้อนแสงด้านบนของเตา ติดตั้งไว้เพื่อให้ร้อนจัดขึ้นอีก ใช้กระจกเงาถูกและดีแต่ต้องมีกรอบ และต้องมีที่ปรับมุมของแผ่น ให้ตรงกับแสงได้ตามฤดูกาล
หากไม่เข้าใจโทรสอบถามได้ที่ ลุงอรรถ 081-459-0671 ลองทำกันดูได้ผลอย่างไร เล่ากันมาบ้างนะครับ ขอบคุณผู้ที่ให้กำลังใจและสั่งให้ทำเผยแพร่ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ใครอยากทำขาย ลุงจะช่วยหาอุปกรณ์จัดส่งไปให้ (ถ้าหาไม่ได้ ในท้องถิ่น)
**เพิ่มเติม แบบตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

- ตัวตู้อบแห้งทำจากวัสดุอลูมิเนียมชนิดพิเศษลายเพชร ปลอดสนิม
- ตะแกรงสำหรับวางวัตถุดิบที่นำมาอบแห้ง ทำจากสเตนเลส ซึ่งทนทานต่อการเกิดสนิม
- ด้านล่างของตู้อบแห้งทำจากแผ่นอลูมิเนียมพื้นสีดำ ทำหน้าที่เป็นตัวรับพลังงานแสงอาทิตย์
- มีกระจกป้องกันการสูญเสียความร้อน และฝุ่นละออง
- มีต ะแกรงมุ้งลวดสำหรับป้องกันแมลงต่างๆ ที่จะมารบกวน
- ใช้งานและดูแลรักษาง่าย มีประตูเปิด-ปิด และที่จับด้านข้าง

อบแห้งอาหารประเภทเนื้อและปลา
- เนื้อแดดเดียว จะใช้เวลาในการอบแห้ง 1/2 วัน
หั่นเนื้อออกเป็นแผ่นๆ ความหนาประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร แล้วนำไปวางบนตะแกรงตอนเช้า นำไปวางให้กระจกด้านเอียงหันเข้าหาแสงอาทิตย์ ตอนบ่ายนำเนื้อออกจากตู้อบแห้งไปทอดรับประทานได้ - ปลาแดดเดียว จะใช้เวลาในการอบแห้ง 1/2 วัน
การเตรียมปลาเช่นเดียวกับการทำปลาตากแห้งที่ใช้กันอยู่ นำไปตากตอนเช้าโดยไม่ต้องพลิกกลับชิ้นปลา ตอนบ่ายนำปลาออกจากตู้อบแห้งไปเก็บไว้ทอดรับประทาน
- กล้วยตากอบน้ำผึ้ง จะใช้เวลาในการอบแห้ง 3 วัน
โดยเลือกกล้วยที่สุกงอม ปอกเปลือกออก วางเรียงบนตะแกรง แล้วนำเข้าตู้อบ ปิดฝาตู้ นำไปวางรับแสงอาทิตย์ หันหน้ากระจกไปทางทิศใต้ ตู้จะรับแสงอาทิตย์ได้ตั้งแต่ 08.00-16.00 น. ตอนเที่ยงควรกลับกล้วย โดยพลิกด้านล่างขึ้นมารับแสงอาทิตย์ เพื่อให้กล้วยแห้งเท่ากันทั้งสองด้าน ตอนเย็นให้เก็บกล้วยบนตะแกรงใส่ถุงพลาสติกวางซ้อนทับกัน แล้วมัดปากถุงให้แน่น เพื่อให้ความชื้นส่วนในออกมาอยู่ที่ผิว วันรุ่งขึ้นนำกล้วยไปเรียงบนตะแกรงเช่นเดียวกับวันแรก ตอนเย็นให้เก็บใส่ถุงพลาสติกมัดไว้ จนวันที่ 3 นำไปชุบน้ำผึ้งผสมน้ำ 50% วางเรียงบนตะแกรง ตากในตู้อบแห้งจนเย็น จะได้กล้วยตากอบน้ำผึ้งมีสีสวย สะอาด น่ารับประทาน ปราศจากฝุ่นและแมลงรบกวน - พริกแห้ง จะใช้เวลาประมาณ 3 วัน
ใช้พริกสุกสีแดง ประมาณ 1/2-1 กิโลกรัม
ตัดตะแกรงมุ้งลวดวางบนตะแกรงในตู้อบ จากนั้นนำพริกมาเทบนมุ้งลวดแล้วเกลี่ยให้ทั่ว ยกตู้อบแห้งออกไปรับแสงอาทิตย์ โดยหันหน้าไปทางทิศใต้ ควรกลับพริกไปมาให้ทั่วถึง 1-2 ครั้งต่อวัน เมื่อหมดแสงอาทิตย์ ยกตู้อบมาเก็บไว้ในบ้าน รุ่งเช้านำไปรับแสงอาทิตย์ใหม่ จนได้พริกที่แห้ง สะอาด จึงเก็บไว้บริโภค
เตาอบพลังงานแสงอาทิตย์ ผลิตจากกล่องโฟม
แหล่งอ้างอิงข้อมูล : อรรถพล ศิริปุณย์ ปราชญ์เกษตร ชำนาญการพืชสมุนไพร จ.ปทุมธานีขอขอบคุณข้อมูลจาก : รักบ้านเกิด , อยากใช้พลังงานแสงอาทิตย์.com
ที่มา:https://naykhaotom.com/solar-oven/
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น